วันจันทร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2555

*** ตารางการดื่มน้ำเพื่อสุขภาพ ***

หากคุณคิดว่าการดื่มน้ำเป็นเรื่องไม่สำคัญ คุณไม่ผิดหรอกครับที่คิดอย่างนั้น แต่หากคุณอยากมีสุขภาพที่ดีลองทำตารางนี้ก็คงไม่เสียหายใช่มั้ยครับ 

น้ำที่ควรดื่มควรเป็นน้ำธรรมดาไม่เป็นน้ำที่ร้อนมากหรือที่เย็นจัด แต่ถ้าเป็นน้ำอุ่นๆ เล็กน้อยก็ควรดื่มในตอนเช้าเพราะจะให้การขับถ่ายของคุณดีขึ้น ลำไส้สะอาด หากไม่เชื่อลองทำดูสิครับ 

ระยะเวลาที่ดื่มน้ำ ใน 1 วัน อาจจะเปลี่ยนแปลงตารางให้เหมาะกับคุณเอง แต่ไม่ควรเปลี่ยนมากนะครับ เพราะอาจจะทำให้ตัวคุณเองสับสน

............................................

ตื่นนอนตอนเช้า ดื่มน้ำ 1 แก้ว
ตอนสาย ดื่มน้ำ 2 แก้ว (เวลาประมาณ 9.00 – 10.00 น)
ตอนบ่าย ดื่มน้ำ 3 แก้ว (เวลาประมาณ 13.00 – 14.00 น)
ตอนเย็น ดื่มน้ำ 3 แก้ว (เวลาประมาณ 19.00 – 20.00 น)
ก่อนเข้านอน ดื่มน้ำ 1 แก้ว เพื่อให้น้ำที่ดื่มไหลเวียนชะล้างสิ่งตกค้างในลำไส้และกระเพาะอาหาร ถ้าเป็นน้ำอุ่นจะช่วยให้หลับสบายดีขึ้น รวมแล้วให้สามารถดื่มน้ำเปล่าได้วันละ 10 แก้ว นอกเหนือจากนั้น ท่านสามารถดื่มน้ำผลไม้, น้ำนม ฯลฯ ได้อีกไม่จำกัด
.............................................

*ข้อควรจำ*
ไม่จำเป็นต้องดื่มครั้งละ 2 – 3 แก้วติดต่อกันทันที ดื่มตามปรกติสบายๆ ผู้ที่ทำตามครั้งแรก ๆ อาจรู้สึกคลื่นไส้เล็กน้อย เป็นอาการปรกติธรรมดา ทั้งนี้เพราะผนังลำไส้ และกระเพาะอาหารขยายตัวขึ้นหากทำติดต่อกันเป็นประจำก็จะไม่มีอาการอีก สามารถดื่มได้ง่ายและเกิดความเคยชิน สดชื่น สบายที่ได้ดื่มน้ำมากๆ

ระยะแรก จะเกิดการปัสสาวะบ่อย ครั้งแรกๆ จะมีสีเหลืองข้นขุ่นกลิ่นฉุน เนื่องจากน้ำที่ดื่มไปชะล้างไตให้สะอาด ซึ่งไตเป็นเสมือนเครื่องกรองน้ำของร่างกาย ขจัดสิ่งตกค้างให้ออกไป

ไม่ควรดื่มน้ำมากก่อนที่จะรับประทานอาหาร ( ควรงดดื่มน้ำมากสักครึ่งชั่วโมงก่อนรับประทานอาหาร) และหลังจากรับประทานอาหารเสร็จใหม่ๆ ก็ไม่ควรดื่มน้ำมากๆ ทันที ในระหว่างการรับประทานอาหารไม่ควรดื่มน้ำตลอดเวลา เพราะการดื่มน้ำมากในระหว่างรับประทานอาหารจะทำให้น้ำย่อยในกระเพาะอาหารเจือจาง การย่อยเป็นไปได้ไม่ดี

การทานอาหารในแต่ละมื้อไม่ควร อิ่มจนแน่นท้องเกินไปควรให้อิ่มพอดีแล้วรับประทานผลไม้สดจะทำให้สะอาดคอ แล้วจิบน้ำตามนิดหน่อยท่านจะรู้สึกสบายท้องหลังจากนั้นสักครึ่งชั่วโมง จึงดื่มน้ำตามปรกติ 
***10 วิธีกินอย่างฉลาด***

ทราบหรือไม่ว่า วิธีกินอย่างฉลาดต้องปฏิบัติอย่างไร วันนี้เรามีมาฝาก…

1. กินพออิ่มด้วยการตักอาหารกะปริมาณพอดี เช่น ข้าวสวย 1-2 ทัพพี ผัก 4-6 ช้อน และน้ำสะอาด 1-2 แก้ว
2. ไม่กินทิ้งกินขว้าง
3. เลือกอาหารดีมีคุณค่าราคาถูก อาหารประเภทโปรตีนอาจใช้เต้าหู้หรือถั่วเมล็ดแห้งผสมรวมกับเนื้อสัตว์ เลือกกินอาหารที่มีในท้องถิ่น ผักพื้นบ้านที่หาง่าย
4. กินผักผลไม้ไทยแทนของหวาน โดยเฉพาะผลไม้ตามฤดูกาลจะมีราคาถูกและไม่มีน้ำตาลกะทิ ทำให้อ้วน
5. ลดการกินจุบจิบ
6. ดื่มน้ำเปล่าดีที่สุด ลดหรืองดเครื่องดื่มที่มีรสหวานต่าง ๆ
7. กินอาหารไทยจะมีราคาถูกและได้รับคุณค่าทางอาหารครบถ้วน
8. ลดการสั่งอาหารราคาพิเศษ เช่น การเพิ่มลูกชิ้น ข้าวหรือกับข้าว จะสิ้นเปลืองและทำให้อ้วน
9. งดการกินอาหารมื้อดึก
10. เคี้ยวอาหารช้า ๆ อย่ารีบร้อน จะทำให้รู้สึกอิ่มเร็วกว่า เพราะร่างกายของคนเราจะอิ่มเมื่อกินอาหารไปประมาณ 20 นาที

รู้อย่างนี้แล้ว หันมากินอาหารอย่างฉลาดกันดีกว่า ได้ทั้งประหยัดแถมสุขภาพยังดีอีกด้วย
***10 ข้อผิดพลาดของการรับประทานอาหารผิดวิธี***
สำหรับผู้ป่วยต้องการลดน้ำหนัก

ข่าวคราวจาก เอบีซีนิวส์ ดอท คอม รายงานว่า ลินดา บลาร์เจสกี้ นักโภชนาการ ที่มหาวิทยาลัยโอเรกอน และ เอบบี้ นักโภชนาการจากศูนย์การแพทย์ มหาวิทยาลัยในรัฐอริโชนาของสหรัฐอเมริกา ได้ศึกษาข้อมูล และสรุปถึงข้อปฏิบัติที่ผิดพลาด 10 ข้อสำหรับการรับประทานอาหาร สำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก เรามาดูกันว่าจะตรงกับคนไทยบ้างหรือไม่

1. เลือกรับประทานแต่อาหารที่ชอบ
การเลือกรับประทาน แต่ที่ชอบโดยไม่ระมัดระวัง จะทำให้ รับประทานอาหารนั้นต่อไปได้เรื่อย จนลืมว่าเราต้องการลดน้ำหนั

2. อดอาหารมากเกินไป
หากมัวเข้มงวดในการควบคุม แคลอรี่ในร่างกายมากเกินไป ก็จะยิ่งเป็นการกระตุ้น ให้ร่างกายเกิดความหิว และอยากอาหารมากขึ้น ซึ่งอาจจะทำให้การลดน้ำหนักไม่ได้ผล

3. ไม่มีจุดยืนหรือเป้าหมายที่แน่ชัด
หากอยากลดน้ำหนัก ด้วยการควบคุมอาหาร ก็ควรตั้งเป้าหมายไว้ เช่น เขียนไว้ในบันทึกว่า จะลดน้ำหนักลงเท่าไร อย่างไร และกระทำตามนั้น แต่เป้าหมายดังกล่าว ต้องเป็นเป้าหมายที่เราทำได้ด้วย

4. ดื่มเครื่องดื่มที่มี แคลอรีสูง
การดื่มไวน์แดง ร่วมกับการรับประทานอาหารค่ำ การดื่มนมไร้ไขมัน หรือน้ำผลไม้ระหว่างวัน ก็ให้แคลอรีสูง ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการลดน้ำหนัก ดังนั้น ผู้ที่ลดน้ำหนัก จึงควรดื่มน้ำเปล่าดีกว่า หรืออาจจะเป็นน้ำมะนาวก็ได้

5. ไม่ยอมออกกำลังกาย
ผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก จะต้องจำไว้ว่า สิ่งสำคัญในการลดน้ำหนักให้ได้ผล คือ ต้องเพิ่มจำนวนแคลอรี่ที่ใช้ในร่างกาย ซึ่งการบริหารร่างกาย จะมีส่วนช่วยให้เกิดการใช้แคลอรี่มากขึ้น

6. ความเครียด
เป็นอุปสรรคสำคัญของการลดน้ำหนัก บางคนลดไม่ได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ และเครียดจัด อาจกลับมารับประทานอาหารมากขึ้น

7. ให้รางวัลกับตนเองด้วยอาหาร
บางคนลืมตัวไปว่ากำลังควบคุมอาหาร พอเห็นว่าแผนลดน้ำหนักเริ่มได้ผล ก็เริ่มรับประทานอาหารมากขึ้น นักวิจัยบอกว่า น่าจะให้รางวัล โดยการลดอาหารดูบ้าง

8. การเลี่ยนแปลงตนเองมากเกินไ
เหตุผลอีกประการหนึ่ง ที่ทำให้การลดน้ำหนักไม่ได้ผล คือการเปลี่ยนแปลงทุกสิ่งทุกสิ่งทุกอย่าง มากเกินไปในเวลาเดียวกัน เช่น เป็นคนชอบรับประทานเนื้อสัตว์มากๆ แต่หันมาเปลี่ยนเป็นมังสวิรัติในเวลาอันสั้น

9. ไม่ยอมเปลี่ยนความคิดใหม่
ควรคิดอยู่เสมอว่า การลดน้ำหนักเพื่อทำให้สุขภาพดี ทำให้เราอยากเปลี่ยนพฤติกรรมตนเอง

10. ทำตัวแบบเดิม
บางคนไม่ยอมเปลี่ยนแปลงอาหารการกิน หรือเปลี่ยนแปลงการทำกิจกรรม ถ้าลองเปลี่ยนแปลงแปลงอาหารการกิน การทำกิจกรรม และการดำเนินชีวิตดูบ้าง ก็จะสามารถรักษารูปร่าง และสุขภาพของตนเองไว้ได้

ที่มา : tlcthai.com/woman