วันพฤหัสบดีที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

เส้นเอ็นร้อยหวาย อักเสบ / กลุ่มอาการปวดบริเวณ ส้นเท้า


                                                            เส้นเอ็นร้อยหวาย อักเสบ



เส้นเอ็นร้อยหวาย อักเสบ / กลุ่มอาการปวดบริเวณ ส้นเท้า

กลุ่มอาการปวดบริเวณส้นเท้า

กลุ่มอาการปวดบริเวณส้นเท้า ประกอบด้วย โรคหลาย ๆ โรค ที่ทำให้เกิดลักษณะอาการที่คล้ายคลึงกัน เช่น

เอ็นร้อยหวายอักเสบ

ถุงน้ำกระดูกส้นเท้าอักเสบ หรือ ถุงน้ำเส้นเอ็นร้อยหวายอักเสบ

กระดูกเท้าบิดผิดรูป

โรครูมาตอยด์

โรคเก๊าท์ หรือ

กระดูกหัก เป็นต้น

ซึ่งในบางครั้งอาจพบหลายโรคพร้อม ๆ กันก็ได้

อาการและอาการแสดง

มีอาการเจ็บบริเวณด้านหลังของส้นเท้า หรือ ด้านหลังข้อเท้า ซึ่งจะมีอาการมากขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหวข้อเท้า เช่น เดินขึ้นลงบันได หรือ วิ่ง เป็นต้น

บางรายพบว่าการกดทับจาก ขอบด้านหลังของรองเท้า เวลาใส่รองเท้าทำให้เกิดอาการมากขึ้น ในผู้ที่เป็นมานาน บริเวณส้นเท้าอาจบวมหรือเป็นก้อนโตขึ้นได้

ตำแหน่งที่เจ็บอาจจะอยู่ที่ เส้นเอ็นร้อยหวาย หรือ ด้านหลังต่อเส้นเอ็นร้อยหวายก็ได้ เมื่อกระดกข้อเท้าขึ้น จะมีอาการเจ็บมากขึ้น แต่เมื่อเหยียดข้อเท้าลง อาการก็จะดีขึ้น อาจคลำก้อนถุงน้ำ หรือ กระดูกงอกได้

การถ่ายภาพรังสีด้านข้างของกระดูกข้อเท้าและส้นเท้า มักจะปกติ อาจพบมีกระดูกงอกได้ในผู้ป่วยบางราย ซึ่งในคนปกติ ที่ไม่มีอาการปวดส้นเท้า ก็อาจพบกระดูกงอกได้ ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องถ่ายภาพรังสีในผู้ป่วยทุกคน

แนวทางการรักษา

การรักษาโดย ไม่ผ่าตัด

ส่วนใหญ่แล้วการรักษาโดย ไม่ผ่าตัด จะได้ผลดี ซึ่งประกอบด้วย

1. ลดกิจกรรมที่ทำให้ปวด หรือ กิจกรรมที่ต้องลงน้ำหนัก เช่น การยืนหรือเดินนาน ๆ เป็นต้น และ ควรออกกำลังชนิดที่ไม่ต้องมีการลงน้ำหนัก เช่น ว่ายน้ำ ขี่จักรยาน

2. บริหารเพื่อยืดกล้ามเนื้อน่อง และ เส้นเอ็นร้อยหวาย

3. ใช้ผ้าพันที่ข้อเท้า ใส่เฝือกชั่วคราวในตอนกลางคืน หรือใส่เฝือกตลอดเวลา เพื่อลดการเคลื่อนไหวของข้อเท้า

4. ใส่รองเท้าที่เหมาะสม เช่น ขนาดกระชับพอดีไม่หลวมเกินไป ส้นสูงประมาณ 1–1.5 นิ้ว มีขอบด้านหลังที่นุ่ม หรือใช้แผ่นรองส้นเท้ารูปตัวยู ( U ) ติดที่บริเวณขอบรองเท้าด้านหลัง เพื่อไม่ให้ขอบของรองเท้ามากดบริเวณที่เจ็บ

5. หลีกเลี่ยงการเดินด้วยเท้าเปล่า

6. รับประทานยาแก้ปวด เช่น พาราเซ็ตตามอล ยาแก้ปวดลดการอักเสบ ประคบด้วยความร้อน หรือใช้ยานวด

7. ฉีดยาสเตียรอยด์ บริเวณที่มีการอักเสบ ทุก 1-2 อาทิตย์ แต่ ไม่ควรฉีดเกิน 2 ครั้งใน 1 เดือน ถ้าไม่จำเป็นก็ ไม่ควรฉีด เพราะอาจเกิดผลแทรกซ้อนได้ เช่น เส้นเอ็นร้อยหวายขาด ผิวหนังบริเวณที่ฉีดเปลี่ยนเป็นสีขาว เป็นต้น

การรักษาโดยการผ่าตัด

ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัด

1. ผู้ป่วยที่ตอบสนองต่อการรักษาดี แต่กลับเป็นซ้ำบ่อย ๆ ไม่หายขาดทำให้มีปัญหาในการดำเนินชีวิตประจำวัน

2. ในรายที่ตอบสนองต่อการรักษาไม่ดี โดยเฉพาะรายที่มีสาเหตุชัดเจน เช่น ฝ่าเท้าบิดเข้าหรือบิดออก เป็นต้น

วิธีผ่าตัด เช่น ผ่าตัดเพื่อเอาถุงน้ำ เนื้อเยื่อที่อักเสบ และ กระดูกงอก ออก หรือ ผ่าตัดเปลี่ยนแนวกระดูก เป็นต้น

ผลข้างเคียงที่อาจพบได้ เช่น แผลเป็นนูนทำให้ปวดแผลเรื้อรัง เส้นเอ็นร้อยหวายขาด เป็นต้น

อาหารที่แนะนำที่สามารถช่วยบำรุงเส้นเอ็นโดยเฉพาะคือ ข้าวกล้อง เม็ดบัว ลูกเดือย และเมล็ดทานตะวัน

วันอังคารที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

บอระเพ็ด สุดยอดยาอายุวัฒนะ



                                                  บอระเพ็ด สุดยอดยาอายุวัฒนะ

สมุนไพรไทยของเรามีอยู่หลายชนิด วันนี้เรามีสมุนไพรชนิดหนึ่งมาแนะนำ เป็นสมุนไพรที่แค่ได้ยินชื่อหลายคนอาจเข็ดขยาดกับความขมของมัน พืชชนิดนั้นคือ บอระเพ็ดนั่นเองครับ แต่ภายในความขมของบอระเพ็ดนั้น แฝงด้วยสรรพคุณหลายๆอย่างโดยเฉพาะสรรพคุณทางด้านสมุนไพรไทย ถ้าไม่เชื่อมาลองดูกัน

บอระเพ็ดชื่อวิทยาศาสตร์ Tinospora crispa (L.)Miers ex Hook.f.& Thomson ชื่อยาวมาก ไว้วันหลังจะพูดถึงหลักการตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ของพืชสมุนไพรไพรไทย
และพืชอื่นๆให้ฟังนะครับ)
เป็นพืชวงศ์ Menispermaceae
ชื่ออื่นๆตามภูมิภาค เถาหัวด้วน (ภาคกลางแถวสระบุรี) หางหนู จุ่มจะลิง (ภาคเหนือ) เจตมูลหนาม(ภาคอิสาน หนองคาย) เครือกอฮอร์ (ภาคอิสาน อุดรธานี)

ลักษณะทั่วไปของบอระเพ็ด
เป็นไม้เถาเลื้อย เถาค่อนข้างกลมขนาดของเถาเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1-2 เซนติเมตร โดยจะมีปุ่มรอบๆเถาสีดำ รสขมมาก(มากแบบมากจริงๆนะครับ) ใบของบอระเพ็ดเป็นรูปหัวใจ ปลูกง่ายตามข้างรั้ว หรือเลื้อยพันกับต้นไม้ใหญ่

สรรพคุณทางด้านสมุนไพรไทย
ราก ถอนพิษไข้
ต้น ลดไข้เช่นเดียวกับราก บำรุงธาตุ ช่วยเจริญอาหาร ปรับสมดุลในร่างกาย นอกจากนี้ตามตำราสมุนไพรไทยกล่าวว่า สามารถช่วย บำรุงกำลัง และยังเป็นยาอายุวัฒนะอีกด้วย

วิธีใช้บอระเพ็ดเป็นยาอายุวัฒนา
เนื่องจากว่าส่วนต้นของบอระเพ็ด มีความขมมาก จะรับประทานสดสด คงไม่ไหม ต้องมีวิธีปรุงยาสมุนไพรไทยก่อน ขอแนะนำสามวิธีดังนี้
1. ใช้เถาบอระเพ็ดหั่นแล้วตากแห้ง จากนั้นบดเป็นผงผสมน้ำผึ้ง ปั้นเป็นลูกกลอน รับประทานก่อนนอนวันละ 3-5 เม็ด
2. สำหรับคนที่ไม่แพ้แอลกลอฮอร์ ใช้เถาสดดองเหล้า โดยจะใช้บอระเพ็ดสดประมาณ 2 ขีดหั่นเป็นข้อใส่ในโถเหล้า ส่วนการดื่มให้ดื่มครั้งละ 1 ถ้วยชาก่อนอาหารเย็น
3. วิธีนี้ง่ายที่สุด คือนำบอระเพ็ดตากแห้ง แล้วนำมาบดใส่แคปซูล ทานวันละ 2-3 แคปซูลโดยทานก่อนอาหารเช้า เย็น (อาจทานเช้าเย็น มื้อละแคปซูล หรือเช้า 1 เย็น 2 ก็ได้)

วิธีใช้บอระเพ็ดเป็นยาบรรเทาไข้ ลดความร้อน

ใช้เถาแก่สด หรือต้นสด ประมาณ 15-20 เซนติเมตร (30-40 กรัม) ตำให้แหลกและคั้นเอาน้ำดื่ม (อย่าลืมใส่ถุงมือตอนคั้นนะครับ ขมติดมือไม่รู้ด้วย )หรือต้มกับน้ำโดยใช้ น้ำ 3 ส่วน ต้มเคี่ยวให้เหลือ 1 ส่วน ดื่มวันละ 2 ครั้ง ก่อนอาหารเช้า-เย็น หรือเวลามีอาการ
ใช้เถาสด ดองเหล้าโรง แนะนำ 20 ดีกรีก็พอ รับประทานเพียงครั้งละ 1 ช้อนชา
ทั้งหมดนี้คือเรื่องราวของบอระเพ็ด ใครเลยจะรู้ว่าเจ้าสมุนไพรอย่างบอระเพ็ดเอง อาจเป็นที่มาของสำนวนที่ว่า “หวานเป็นลม ขมเป็นยา” ก็อาจเป็นได้

ทั้งหมดนี้คือเรื่องราวของบอระเพ็ด ใครเลยจะรู้ว่าเจ้าสมุนไพรอย่างบอระเพ็ดเอง อาจเป็นที่มาของสำนวนที่ว่า “หวานเป็นลม ขมเป็นยา” ก็อาจเป็นได้
ขอขอบคุณข้อมูลจาก http:ไทยสมุนไพร.net

@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@

บอระเพ็ด สรรพคุณของบอระเพ็ด และสารพัดประโยชน์ของบอระเพ็ด สมุนไพรไทย !

บอระเพ็ด ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ไม้เถาเลื้อยพาดพันต้นไม้อื่น เถากลมมีขนาดใหญ่เป็นปุ่มปม สีเทาอมดำ มีรสขม เปลือกลอกออกได้ ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปหัวใจ ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียว ก้านใบยาว 8-10 ซม. ดอก ออกตามซอกใบ ดอกแยกเพศอยู่คนละช่อ ดอกสีเขียวอมเหลือง มีขนาดเล็กมาก ผล รูปทรงค่อนข้างกลม สีเหลืองหรือสีแดง

ส่วนที่ใช้ : ราก ต้น ใบ ดอก ผล ส่วนทั้ง 5 เถาสด

ลักษณะทั่วไป

ลำต้น : เป็นพันธุ์ไม้เถาเลื้อยเอนอ่อน เมื่ออายุมากเนื้อของลำต้นอาจแข็งได้ เถากลมโตขนาดนิ้วมือ ประมาณ 1-1.5 ซม. เถาอ่อนผิวเรียบสีเขียว เถาแก่สีน้ำตาลอมเขียว ผิว ขรุขระ มีปุ่มปมกระจายทั่วไป ขึ้นเกาะต้นไม้อื่น มักจะมีรากอากาศคล้ายเชือกเส้นเล็กๆ ห้อยลงมาเป็นสาย ใบเดี่ยวเป็นแบบสลับ ใบเป็นรูปหัวใจ ปลายใบแหลม ยางมีรสขมจัด ดอกออกเป็นช่อ ขนาดเล็กมากมีสีเหลืองอมเขียว ผลเป็นรูปไข่สีเหลืองหรือส้ม

ใบ : เป็นใบเดี่ยว รูปใบพลูหรือรูปหัวใจ โคนใบหยักเว้า มีเส้นใบ 5-7 เส้นที่เกิดจากจุดโคนใบ

ดอก : ออกดอกเป็นช่อตามกิ่งแก่ตรง บริเวณซอกใบหรือปลายกิ่ง ดอกขนาดเล็กสีเหลืองอมเขียว, แดงอมชมพู, เขียวอ่อน, เหลืองอ่อน ช่อดอก ยาว 5-20 เซนติเมตร ประกอบด้วยกลีบดอก กลีบเลี้ยงอย่างละ 6 กลีบ

ผล : มีลักษณะเป็นรูปไข่ กลมรี สีเหลืองถึงแดง ขนาด 2-3 ซม. มีเนื้อเยื่อบางๆหุ้มเมล็ด

การขยายพันธุ์ : ปลูกโดยใช้เมล็ดหรือตัดชำเถาแก่ ควรทำค้างให้บอระเพ็ดเลื้อยด้วย

ส่วนที่ใช้ : เถาแก่

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม : ขึ้นได้ในดินทั่วไป แต่ชอบดินร่วนซุย ควรปลูกในฤดูฝน

สรรพคุณของบอระเพ็ด

ราก
- แก้ไข้เหนือ ไข้สันนิบาต แก้ไข้พิษ ไข้จับสั่น
- ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้
- เจริญอาหาร

ต้น
- แก้ไข้ แก้ไข้พิษ แก้ไข้กาฬ แก้ไข้เหนือ
- บำรุงกำลัง บำรุงธาตุ - แก้อาการแทรกซ้อน ขณะที่เป็นไข้ทรพิษ
- แก้ไข้เพื่อโลหิต แก้เลือดพิการ
- แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้สะอึก แก้พิษฝีดาษ
- เป็นยาขมเจริญอาหาร
- เป็นยาอายุวัฒนะ

ใบ
- แก้ไข้ แก้ไข้พิษ แก้ไข้กาฬ แก้ไข้จับสั่น
- ขับพยาธิ แก้ปวดฝี
- บำรุงธาตุ
- ยาลดความร้อน
- ทำให้ผิวพรรณผ่องใส หน้าตาสดชื่น
- รักษาโรคผิวหนัง ผดผื่นคันตามร่างกาย
- ช่วยให้เสียงไพเราะ
- แก้โลหิตคั่งในสมอง
- เป็นยาอายุวัฒนะ

ดอก
- ฆ่าพยาธิในท้อง ในฟัน ในหู

ผล
- แก้เสมหะเป็นพิษ แก้ไข้พิษ
- แก้สะอึก และสมุฎฐานกำเริบ

ประโยชน์ของบอระเพ็ด

มีการใช้บอระเพ็ดเป็นยาสมุนไพร สรรพคุณ แก้ไข้ แก้ร้อนใน กระหายน้ำ บำรุง กำลัง บำรุงไฟธาตุ ช่วยเจริญอาหาร รักษาโรคฝีดาษ โรคไข้เหนือ โรคไข้พิษทุกชนิด ใบ รักษาพยาธิในท้อง รักษาฟัน ตำให้ละเอียดพอกฝี แก้ฟกช้ำ ปวดแสบปวดร้อน ผล เป็นยา รักษาโรคไข้พิษอย่างแรงและเสมหะเป็นพิษ รักษาโรคทางเดินปัสสาวะ โรคโลหิตพิการ

ในทางการเกษตร มี การนำบอระเพ็ดมาใช้ในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช เช่น หนอนกอ เพลี้ยกระโดด เพลี้ยจักจั่น โรคยอดเหี่ยว โรคข้าวตายพราย และโรคข้าวลีบ เป็นต้น

วิธีใช้บอระเพ็ดเป็นยาบรรเทาไข้ ลดความร้อน

1.ใช้เถาแก่สด หรือต้นสด ประมาณ 15-20 เซนติเมตร (30-40 กรัม) ตำให้แหลกและคั้นเอาน้ำดื่ม (อย่าลืมใส่ถุงมือตอนคั้นนะครับ ขมติดมือไม่รู้ด้วย )หรือต้มกับน้ำโดยใช้ น้ำ 3 ส่วน ต้มเคี่ยวให้เหลือ 1 ส่วน ดื่มวันละ 2 ครั้ง ก่อนอาหารเช้า-เย็น หรือเวลามีอาการ

2.ใช้เถาสด ดองเหล้าโรง แนะนำ 20 ดีกรีก็พอ รับประทานเพียงครั้งละ 1 ช้อนชา
ทั้งหมดนี้คือเรื่องราวของบอระเพ็ด ใครเลยจะรู้ว่าเจ้าสมุนไพรอย่างบอระเพ็ดเอง อาจเป็นที่มาของสำนวนที่ว่า “หวานเป็นลม ขมเป็นยา” ก็อาจเป็นได้
วิธีใช้บอระเพ็ดเป็นยาอายุวัฒนา

เนื่องจากว่าส่วนต้นของบอระเพ็ด จะมีความขมมากหากรับประทานสดสด จึงควรปรุงยาสมุนไพรไทยก่อนแนะนำ3วิธีดังต่อไปนี้

1.เอา เถาบอระเพ็ดหั่นแล้วตากแห้ง จากนั้นบดเป็นผงผสมกับน้ำผึ้ง ปั้นเป็นลูกกลอน รับประทานก่อนนอนวันละ 3-5 เม็ด

2. สำหรับคนที่ไม่แพ้แอลกลอฮอร์ ใช้เถาสดดองเหล้า โดยจะใช้บอระเพ็ดสดประมาณ 2 ขีดหั่นเป็นข้อใส่ในโถเหล้า ส่วนการดื่มให้ดื่มครั้งละ 1 ถ้วยชาก่อนอาหารเย็น

3. วิธีนี้ง่ายที่สุด คือนำบอระเพ็ดตากแห้ง แล้วนำมาบดใส่แคปซูล ทานวันละ 2-3 แคปซูลโดยทานก่อนอาหารเช้า เย็น (อาจทานเช้าเย็น มื้อละแคปซูล หรือเช้า 1 เย็น 2 ก็ได้)

การทำบอระเพ็ดแช่อิ่ม

สามารถสร้างรายได้ให้กับกลุ่มแม่บ้านได้เป็นอย่างมาก เนื่องจากบอระเพ็ดแช่อิ่มมีรสชาติดีและมีราคาของค่อนข้างสูง ยอดการสั่งซื้อก็มีมากขึ้นเรื่อยๆ จนผลิตไม่ทันกับความต้องการ ถือได้ว่าเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับสมุนไพรที่ยอดเยี่ยม สำหรับส่วนผสมและวิธีทำ มีดังนี้ค่ะ

เครื่องปรุง
1. เถาบอระเพ็ด 1 กิโลกรัม
2. น้ำตาลทราย 1 กิโลกรัม
3. สารส้ม
4. เกลือ
5. น้ำซาวข้าว

วิธีทำบอระเพ็ดแช่อิ่ม
1. นำบอระเพ็ดมาตัดเป็นท่อน ลอกเปลือกออ
2. นำไปแช่น้ำเกลือ 1 คืน อัตราส่วนน้ำ 5 ลิตร/เกลือ 1 ลิตร พร้อมแกว่งสารส้ม ลอกไส้ออกเปลี่ยน น้ำเกลือทุกวันจนกว่าจะหายขม
3. ล้างน้ำเปล่าทำความสะอาด แช่น้ำปูนใส 1 คืน
4. ต้มน้ำให้เดือด นำบอระเพ็ดลงต้มประมาณ 10 นาที
5. แบ่งน้ำตาลทรายส่วนหนึ่งตั้งไฟ ชิมดูไม่หวานมากยกลงจากเตา เมื่อน้ำเย็นลงแล้ว เอาบอระเพ็ดลงไปแช่ อุ่นน้ำเชื่อมทุกวัน โดยตักบอระเพ็ดขึ้นก่อนแล้วเติมน้ำตาลทราย ทุกครั้งที่อุ่นจนน้ำตาลทรายหมด 1 กิโลกรัม เมื่อแช่น้ำเชื่อมครบ 15 วันจึงรับประทานได้

วิธีใช้บอระเพ็ดเพื่อป้องกันกำจัดศัตรูพืช
นำเถาสด 5 กิโลกรัม หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วบดให้ละเอียดผสมน้ำ 10 ลิตร ทิ้งไว้ 2 ชั่วโมงนำมากรองก่อนฉีดพ่น ควรผสมผงซักฟอกหรือแชมพู 1 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ

ขอขอบคุณข้อมูลจากhttp://greenerald.blogspot.com/2013/05/Tinospora-Crispa.html

เลือดออกผิดปกติ รู้ได้อย่างไร



                                                     
                                                   เลือดออกผิดปกติ รู้ได้อย่างไร

"ตั้งแต่เด็กเล็กจนโตเป็นผู้ใหญ่ หลายท่านเคยมีเลือดออกกันบ้าง ไม่มากก็น้อย แต่ถ้ามีเลือดออกแบบผิดปกติ จะรู้ได้อย่างไร" ผศ.นพ.ชัยเจริญ ตันธเนศ ภาควิชาพยาธิวิทยาคลินิก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กล่าว

การเกิดเลือดออกที่เราเคยประสบมา อาจเป็นแบบเลือดออกชัดเจน ที่เห็นเลือดไหลเป็นหยดๆ หรือในบางครั้งเลือดอาจจะไม่ได้ออกมาให้เห็นภายนอก แต่จะเป็นลักษณะเลือดที่ออกใต้ชั้นเยื่อบุและผิวหนัง ซึ่งทางการแพทย์เราแบ่งภาวะเลือดออกเป็น 2 แบบใหญ่ๆ คือ

1.ภาวะเลือดออกทางศัลยกรรม เกิดจากการฉีกขาดของเนื้อเยื่อ เช่น ถูกมีดบาด ก็จะมีเลือดออกที่แผล หากแผลใหญ่มาก มีเลือดออกมาก จำเป็นต้องรักษาโดยวิธีทางศัลยกรรม เช่น การเย็บแผล เพื่อซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่เสียหาย

2.ภาวะเลือดออกผิดปกติ เกิดจากความผิดปกติของระบบห้ามเลือดในร่างกาย ซึ่งมีหน้าที่ป้องกันไม่ให้เลือดออกง่าย และช่วยห้ามเลือดเมื่อเกิดบาดแผล เมื่อระบบนี้เสียหน้าที่ไปก็จะทำให้เกิดภาวะเลือดออกผิดปกติขึ้นได้ ภาวะเลือดออกผิดปกตินี้เมื่อเกิดขึ้นต้องมาพบแพทย์ เพื่อหาสาเหตุและให้การรักษาโดยเร็ว ซึ่งการรักษาส่วนใหญ่จะเป็นการใช้ยาเป็นหลัก

ลักษณะเลือดออกผิดปกติที่สำคัญ ได้แก่ มีเลือดออกมากไม่สมเหตุสมผลกับสาเหตุ เช่น เดินไปชนขอบโต๊ะไม่แรง แต่กลับมีรอยช้ำขนาดใหญ่ ถูกมีดบาดเป็นแผลเล็กๆ แต่กลับมีเลือดออกมาก หรือมีเลือดออกเองโดยไม่มีสาเหตุใดๆ เช่น เลือดออกในเยื่อบุตาขาว จุดเลือดออกหรือพรายย้ำ จ้ำเลือดที่ผิวหนัง หลายตำแหน่งพร้อมๆ กัน โดยไม่ได้เกิดจากอุบัติเหตุ เช่น มีเลือดกำเดาพร้อมกับเลือดออกตามผิวหนัง ในเพศหญิงอาจพบปัญหาในรูปแบบของประจำเดือนที่ออกมากผิดปกติ

เลือดออกในตำแหน่งที่พบไม่บ่อย เช่น เลือดออกในข้อต่อต่างๆ เลือดออกในอวัยวะภายใน ถ้าสงสัยว่ามีเลือดออกผิดปกติ ให้มาพบแพทย์เพื่อตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่ม เช่น ตรวจเลือด ซึ่งผลการตรวจจะบอกได้ว่าเกิดจากสาเหตุใด แพทย์จะได้รักษาด้วยวิธีที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยในแต่ละราย

เมื่อมีเลือดออกจะด้วยสาเหตุใดก็ตาม ตั้งสติให้ดีและหาวิธีห้ามเลือดในเบื้องต้น ซึ่งวิธีการห้ามเลือดมีหลายวิธี วิธีที่ง่ายที่สุด คือ ยกอวัยวะที่มีบาดแผลให้สูงกว่าหัวใจ เพื่อลดการไหลเวียนของโลหิต และลดปริมาณการเสียเลือด และให้ใช้นิ้วมือหรือผ้าสะอาดวางทับบนแผล ใช้ผ้าพันแล้วรัดให้แน่นนาน 5-10 นาที ก็จะช่วยให้เลือดหยุดไหลได้ ในกรณีที่เลือดออกมากอย่างต่อเนื่อง ควรปฐมพยาบาลด้วยวิธีดังกล่าว แล้วรีบนำส่งโรงพยาบาล

http://www.thaihealth.or.th/