วันพุธที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ข้อเท้าเทียม

ในปัจจจุบันนี้คนไทยไม่มากก็น้อยคงจะรู้จักหรืออย่างน้อยก็เคยได้ยินเกี่ยว กับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าและข้อสะโพกกันมาบ้างแล้ว ซึ่งสาเหตุสำคัญที่ทำให้ได้รับการผ่าตัดแก้ไขเปลี่ยนผิวข้อเข่าหรือข้อสะโพก คือ การเสื่อมของผิวกระดูกบริเวณดังกล่าวอันเป็นผลเนื่องมาจากอายุที่เพิ่มขึ้น จนทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว นอกเหนือไปจากข้อเข่าและข้อสะโพกแล้วยังมีข้อต่อที่สำคัญอีกหนึ่งข้อที่อาจ
 เกิดปัญหาได้เช่นเดียวกัน คือ ข้อเท้า ซึ่งอาจเป็นบริเวณที่คนส่วนใหญ่มักมองข้ามและไม่ค่อยให้ความสำคัญในการดูแล รักษาเท่าที่ควร
ข้อเท้า เป็นข้อต่อที่รองรับการใช้งานอย่างหนักแต่คนส่วนใหญ่มักมองข้ามและไม่ให้ ความสำคัญในการดูแลเอาใจใส่ให้เหมาะสมในการใช้งาน จากผลการศึกษาพบว่าผู้ชายน้ำหนัก 80 กิโลกรัม เดินเฉลี่ย 8,000 ก้าวต่อวัน ข้อเท้าจะรับน้ำหนักรวมเฉลี่ยมากถึง 1,000 ตันต่อวัน
ข้อเท้าเทียม เป็นอีกหนึ่งทางเลือกของผู้ป่วยที่ประสบปัญหาเกี่ยวกับข้อเท้าเสื่อมซึ่ง เป็นผลมาจากปัจจัยต่างๆที่ได้กล่าวมา ข้อเท้าเทียมนั้นถูกพัฒนาขึ้นเป็นเวลา 30 ปีมาแล้ว แต่เนื่องมาจากคุณภาพและรูปแบบของข้อเท้าเทียมในสมัยแรกๆนั้นยังไม่เป็นที่ ยอมรับ จนทำให้การผ่าตัดในช่วงแรกๆล้มเหลวทั้งหมด หลังจากนั้นในช่วงปลายทศวรรษ 1980 ได้มีการพัฒนาข้อเท้าเทียมขึ้นมาใหม่อีกครั้ง โดยในครั้งนี้ได้มีการเปลี่ยนวัสดุและรูปแบบของข้อเท้าเทียมให้มีลักษณะใกล้ เคียงกับข้อเท้าของมนุษย์มากยิ่งขึ้น รวมทั้งได้มีการออกแบบให้เกิดการเชื่อมตัวกันระหว่างกระดูกของผู้ป่วยกับข้อ เท้าเทียม โดยไม่ต้องใช้ปูนเชื่อมกระดูก ( Bone cement ) ดังเช่นในอดีต ซึ่งเทคโนโลยีดังกล่าวเป็เทคโนโลยีเดียวที่ใช้กับข้อเข่าเทียมและข้อสะโพก เทียมในปัจจุบัน ตั้งแต่นั้นมาข้อเท้าเทียมก็ได้รับการยอมรับมากขึ้นและผลที่ตามมาหลังการผ่า ตัดก็ดีขึ้นเป็นลำดับ โดยผู้ป่วยสามารถกลับไปทำกิจกรรมหลายอย่างได้ตามปกติ ไม่ว่าจะเป็นการเดิน ถีบจักรยาน ว่ายน้ำหรือแม้กระทั่งการวิ่งเบาๆ
โดยทั่วไปการรักษาอาการปวดข้อเท้าเรื้อรังอันเป็นผลมาจากการเสื่อมของ ผิวกระดูกข้อเท้านั้น สามารถทำได้สองวิธี คือ การเข้ารับการผ่าตัดเชื่อมกระดูกข้อเท้า ( Arthodesis หรือ Ankle fusion ) และการผ่าตัดเพื่อใส่ข้อเท้าเทียม ซึ่งการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเท้าเทียมถือว่าเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดทางเลือก หนึ่ง โดยในประเทศไทยนั้นศัลยแพทย์ออโธปิดิกส์ ( ศัลยแพทย์เฉพาะทางด้านกระดูก) สามารถให้คำปรึกษาและแนะนำผู้ป่วยเพื่อให้สอดคล้องกับอาการและสภาพร่างกาย ของผู้ป่วยได้เป็นอย่างดี
การรักษาวิธีแรก คือ การผ่าตัดเพื่อเชื่อมกระดูกข้อเท้า เป็นการรักษาที่นิยมกันมากในการแก้ปัญหาอาการปวดข้อเท้าตั้งแต่อดีต เนื่องด้วยค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่าและเป็นทางเลือกเดียวในการรักษามานานนับสิบ ปี ผูัป่วยจะหายจากอาการปวดข้อเท้าหลังจากการรักษาก็จริง แต่ผลที่ตามมาคือ ผู้ป่วยไม่สามารถขยับข้อเท้าได้ดังเดิม การเคลื่อนไหวลดลงเนื่องจากไม่สามารถขยับ งอ หรือบิดข้อเท้าได้อีกต่อไป นอกเหนือไปจากนั้นงานวิจัยยังแสดงถึงปัญหาที่ตามมาหลังการผ่าตัดเชื่อม กระดูกข้อเท้า โดยจะทำให้เกิดการเสื่อมตัวลงอย่างรวดเร็วของข้อกระดูกถัดๆไปจากกระดูกข้อ เท้าในระยะเวลา 10 ปี เนื่องจากการพยายามปรับตัวของกระดูกข้อต่างๆให้เข้ากับกระดูกข้อเท้าที่ได้ รับการผ่าตัดเชื่อมกันจนทำให้สูญเสียความยืดหยุ่นและความสามารถในการเคลื่อน ที่ ทั้งนี้ข้อต่อต่างๆที่อยู่ถัดจากข้อเท้าที่เชื่อแล้วยังต้องรับภาระในการทำ หน้าที่ทดแทนข้อเท้ามากยิ่งขึ้น ทำให้เกิดปัญหาการเสื่อมของข้อต่างๆตามมาในที่สุด
การรักษาวิธีถัดมา ที่เริ่มเป็นที่นิยมและเข้ามาทดแทนการรักษาวิธีแรกก็คือ การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเท้าเทียมนั่นเอง โดยเป็นทางเลือกที่เหนือกว่าทั้งในด้านใช้งานที่ทำให้เกิดการเคลื่อน ไหวอย่างอิสระมากยิ่งขึ้น และผลที่ตามมาหลังการรักษาโดยไม่ส่งผลให้เกิดการเสื่อมของกระดูกข้อถัดๆไป อีกทั้งหากเกิดการเสื่อมของข้อเท้าเทียมที่ผ่าตัดไปหลังจากมีการใช้งานหรือ มีปัญหาใดๆตามมา ศัลยแพทย์กระดูกยังสามารถเปลี่ยนกลับไปรักษาด้วยการผ่าตัดเชื่อมกระดูกข้อ เท้าได้ในภายหลัง
อย่างไรก็ดีผู้ป่วยบางคนอาจไม่สามารถทำการรักษาโดยเปลี่ยนกระดูกข้อเท้าได้ เนื่องจากผู้ป่วยอาจมีโรคประจำตัวหรือสภาพของร่างกายบางอย่างที่ไม่เหมาะสม เช่น ผู้ป่วยที่มีปัญหาโรคกระดูกพรุน โรคเบาหวาน หรือมีภาวะเลือดไปหล่อเลี้ยงเท้าหรือขาไม่เพียงพอ เพราะสภาวะเหล่านี้อาจรบกวนผลการรักษาและมีผลต่ออายุการใช้งานของข้อเท้า เทียม ทั้งนี้สภาวะแวดล้อมต่างๆขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของศัลยแพทย์ที่ทำการตรวจ รักษา
ปัจจุบันนี้ศัลยแพทย์กระดูกของประเทศไทยเริ่มให้ความสนใจกับกระดูกเท้าและ ข้อเท้ามากยิ่งขึ้น จนได้เกิด อนุสาขาออร์โธปิดิกส์เท้าและข้อเท้า ขึ้นในราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย เพื่อส่งเสริมและผลิตบุคลากรทางการแพทย์ออร์โธปิดิกส์ที่มีความรู้ความ สามารถเฉพาะทางด้านกระดูกเท้าและข้อเท้า เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ประชาชนชาวไทย
หากท่านมีสงสัยหรืออาการเกี่ยวข้องกับกระดูกเท้าและข้อเท้า ท่านสามารถปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านเท้าและข้อเท้าได้ ในโรงพยาบาลดังต่อไปนี้ โรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลมหาราชเชียงใหม่ โรงพยาบาลกรุงเทพ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ โรงพยาบาลพระราม 9 และโรงพยาบาลวิชัยยุทธ โดยจำนวนแพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกเท้าและข้อเท้านั้นจะเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว
ภาวะหัวแม่เท้าเอียง (Hallux Valgus หรือ Bunion) เป็น ภาวะความผิด รูปของนิ้วหัวแม่เท้าที่ส่วนปลายเอียงออกด้านนอกเข้าหานิ้วชี้ และโคนนิ้วหัวแม่เท้าเอียงเข้าด้านในแยกออกจากนิ้วอื่นทำให้ปลายเท้า แบนกว้างขึ้น เมื่อเป็นมากขึ้นปลายนิ้วหัวแม่เท้าจะซ้อนใต้นิ้วเท้า เมื่อนิ้วเท้าเอียงไปทำให้แรงดึงในเส้นเอ็นต่างๆ ของนิ้วเท้า ผิดแนวไป ก็จะเป็นตัวเสริมทำให้ผิ
ดรูปเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ และ มีการอักเสบของข้อโคนนิ้วหัวแม่เท้า

สาเหตุ

1. กรรมพันธุ์ หรือ ความผิดปกติตั้งแต่เกิด เช่น เท้าแบน นิ้วหัวแม่เท้ายาวมาก นิ้วหัวแม่เท้าเกออกเอง
2. การอักเสบของข้อในผู้ที่เป็นโรคข้ออักเสบเรื้อรัง (rheumatoid arthritis) เกิดการอักเสบทำให้กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นผิดปกติ ความผิดรูปจะค่อยเป็นค่อยไปพร้อมกับอาการปวดที่โคนนิ้วหัวแม่เท้า
3. มักเป็นในผู้หญิงวัยกลางคนขึ้นไป มีประวัติใส่รองเท้าส้นสูง, ปลายรองเท้าแหลมบีบปลายเท้า

แนวทางการรักษา

1. การรักษาโดยวิธีไม่ผ่าตัด ในรายที่มีอาการไม่มาก สามารถดึงหรือดันแก้ไขได้ไม่มีข้อเสื่อม -ใส่รองเท้าขนาดพอดี ไม่คับ ปลายรองเท้ากว้าง (wide toe box) ใส่แล้วพอขยับนิ้วเท้าได้บ้าง ไม่บีบรัด นิ้วเท้า พื้นรองเท้านุ่มหรือตัดรองเท้าพิเศษ (หลีกเลี่ยงร้องเท้าปลายแหลมและส้นรองเท้าสูงมากกว่า 2 นิ้ว)
- การนวด การยืด การแช่น้ำอุ่น หรือ ประคบด้วยความเย็น อาจช่วยให้อาการปวดลง-การใช้กายอุปกรณ์ เช่น เฝือกอ่อน หรือ พันผ้ารัดนิ้วเท้าหรืออุปกรณ์ใส่ระหว่างนิ้ว (Bunion Splint, toe spacer)
- กินยาแก้ปวดลดอาการอักเสบที่ไม่ใช่สเตอรอยด์ ยาคลายกล้ามเนื้อ- กายภาพบำบัด
2. การรักษาโดยวิธีผ่าตัด ข้อบ่งชี้ มีอาการปวดร่วมกับข้อผิดรูปมากขึ้น มีลักษณะของข้อเสื่อมเกิดขึ้น วิธีผ่าตัด เช่น ตัดก้อนที่นูนออก,ตัดกระดูกเพื่อเปลี่ยนแนวให้ตรงขึ้น ,การเชื่อมข้อ เป็นต้น ขึ้นอยู่กับลักษณะความผิดปกติของนิ้วเท้าว่ามากน้อยขนาดไหนและเกิดจากสาเหตุ อะไร หลังผ่าตัดผู้ป่วยสามารถเดินได้ในสัปดาห์แรก โดยอาจใช้ไม้เท้าช่วยพยุง

วันพุธที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2555


***น้ำสามเกลอ***

เป็นที่รู้กันว่าโรคที่คร่าชีวิตคนไทยเป็นจำนวนมากในแต่ละปีถ้าไม่นับโรคมะเร็งแล้ว ก็ต้องยกให้โรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันและโรคหลอดเลือดสมองตีบ แม้ยาแผนปัจจุบันที่ใช้รักษาโรคทั้งสองจะมีประสิทธิภาพดี แต่ก็มีผลข้างเคียงมากเช่นกัน ผู้ที่รักสุขภาพจึงหันมานิยมยาสมุนไพรเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ที่ปลอดภัยหาง่าย และมีประสิทธิภาพในการรักษาไม่แพ้กัน

สมุนไพรมีอยู่มากมายหลายตำรับ แต่ที่ตรงคำกล่าวที่ว่า "ส
ูงสุดคืนสู่สามัญ" ยาสมุนไพรสูตรตำรับเดียว ที่ใช้ป้องกันได้ทั้งสองโรคนั้นมีอยู่ไม่กี่ตำรับ ในที่นี้ขอแนะนำตำรับหนึ่งที่มีผู้ใช้ได้ผล และบอกต่อกันมา คือตำรับกระเจี๊ยบแดง พุทราจีน และเตยหอม

สมุนไพรชนิดแรก สีแดงและรสเปรี้ยวจี๊ดของกลีบเลี้ยงผลกระเจี๊ยบแดง นอกจากมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ ขับนิ่วในไต และในระบบทางเดินปัสสาวะแล้ว ยังมีฤทธิ์ลดไขมันในเลือด และรักษาโรคความดันโลหิตสูง รวมทั้งลดความเหนียวข้นของเลือดลง ทำให้การไหลเวียนของโลหิตทั่วร่างกายดีขึ้น ซึ่งก็ช่วยรักษาเส้นเลือดขอดให้ทุเลาลงได้ด้วย

สมุนไพรชนิดที่สอง รสหวาน มัน ฝาด ของผลพุทราจีนสุก ช่วยบำรุงโลหิต บำรุงร่างกาย บำรุงประสาท แก้โรคนอนไม่หลับ นอกจากนี้ ยังอุดมด้วย วิตามินเอ วิตามินซี ซึ่งช่วยบำรุงสายตา และเพิ่มภูมิต้านทานโรค ที่สำคัญผลพุทราช่วยลดผลข้างเคียงจากกรดซิตริกของกระเจี๊ยบ ในขณะเดียวกันก็ช่วยเสริมฤทธิ์ป้องหลอดเลือดหัวใจอุดตัน และเส้นเลือดสมองตีบ

สมุนไพรชนิดที่สาม คือ รสหวานเย็นของใบเตย ช่วยบำรุงหัวใจ ชูกำลัง ลดพิษไข้ ดับพิษร้อนภายใน เตย มีชื่อวิทยาศาสตร์ Pandanus amaryllifolius Roxb ชื่ออื่นๆ เตยหอมใหญ่ เตยหอมเล็ก ปาแนะวองิง (มลายู)


วิธีทำ :
นำสมุนไพรสามเกลอ คือ กระเจี๊ยบแดงแห้ง 30 กรัม เนื้อพุทราแห้งไม่มีเมล็ด 30 กรัม ใบเตยแห้ง 5 กรัม ล้างน้ำให้สะอาด แล้วเคี่ยวไฟอ่อนๆ ราว 10-15 นาที จะเติมเกลือและน้ำตาลเล็กน้อยก็ได้ เพื่อให้ได้รสชาติดีขึ้น แต่สำหรับผู้ป่วยเบาหวานไม่ควรเติมอะไรเพิ่ม ดื่มขณะอุ่น วันละ 2 ครั้ง ครั้งละ 1 แก้ว เช้า-เย็น หลังอาหาร น้ำยาที่เหลือเก็บแช่ตู้เย็นได้ แล้วนำมาอุ่นเพื่อดื่มในมื้อต่อไป

สำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ หรือโรคเส้นเลือดสมองตีบเรื้อรัง สามารถดื่มคอกเทลสมุนไพรสูตรนี้ได้ทุกวัน ช่วยเสริมการบำบัดรักษาที่แต่ละคนดูแลสุขภาพตนเองอยู่แล้วให้ดียิ่งขึ้น ดื่มเป็นประจำรับรองว่าสมองจะแจ่มใส หัวใจสดชื่นไปอีกนาน สำหรับผู้ที่ใช้สมองมาก เช่น นักเรียน นิสิต นักศึกษา หรือผู้บริหาร สามารถดื่มสมุนไพรสามเกลอนี้แทนซุปไก่สกัด หรือผลไม้สกัดราคาแพงๆ ได้เช่นกัน นอกจากจะได้ยาบำรุงสมองที่มีสรรพคุณดีกว่าแล้ว ยังได้ยาราคาถูกกว่าอีกด้วย

วันอาทิตย์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2555

***โรค SLE (เอสแอลอี) หรือ โรคพุ่มพวง***

ผู้ป่วยโรคเอสแอลอี หรือโรคพุ่มพวง แต่ละคนจะมีลักษณะที่แตกต่างกันไป โดยทั่วไปจะมีไข้ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ โรคนี้เป็นโรคเรื้อรังที่มีอาการเกิดขึ้นกับหลายอวัยวะ หรือหลายระบบของร่างกาย บางรายจะเกิดอาการขึ้นพร้อม ๆ กัน หรือแสดงออกเพียงอวัยวะใดอวัยวะหนึ่ง หากมีไข้ต่ำ ๆ โดยไม่ทราบสาเหตุเป็นเวลานาน มีอาการปวดตามข้อ มีผื่นขึ้น
บริเวณใบหน้า หรือมีผื่นคันบริเวณที่ถูกแสงแดด ผมร่วงมากผิดปกติ มีอาการบวมตามขา หน้าหรือหนังตา และโดยเฉพาะผู้หญิงที่ประจำเดือนขาด หรือไม่มา เหล่านี้อาจสงสัยได้ว่าจะป่วยเป็นเอสแอลอี

ข้อสังเกตอาการของโรคที่สัมพันธ์กับอวัยวะ

อาการทางผิวหนัง
ผู้ป่วยมักมีผื่นแดงขึ้นที่บริเวณใบหน้า บริเวณสันจมูก และโหนกแก้ม 2 ข้าง เป็นรูปคล้ายผีเสื้อ หรือมีผื่นแดงคันบริเวณนอกร่มผ้าที่ถูกแสงแดด หรือมีผื่นขึ้นเป็นวง เป็นแผลเป็นตามใบหน้า หนังศีรษะ หรือบริเวณใบหู มีแผลในปาก โดยเฉพาะบริเวณเพดานปาก นอกจากนี้ยังมีผมร่วงมากขึ้

อาการทางข้อและกล้ามเนื้อ
ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการปวดข้อ มักเป็นที่ข้อนิ้วมือ ข้อมือ ข้อไหล่ ข้อเข่า หรือข้อเท้า บางครั้งมีบวมแดงร้อนร่วมด้วย

อาการทางไต
ผู้ป่วยมักมีอาการบวมบริเวณเท้า 2 ข้าง ขา หน้า หนังตา เนื่องจากมีอาการอักเสบที่ไต รายที่มีอาการรุนแรงจะมีความดันเลือดสูงขึ้น ปัสสาวะออกน้อยลง ไปจนถึงขั้นไตวายได้ในระยะเวลาอันสั้น

อาการทางระบบเลือด
ผู้ป่วยอาจมีเลือดจาง มีเม็ดเลือดขาวหรือเกล็ดเลือดลดลง ทำให้มีอาการอ่อนเพลีย มีภาวะติดเชื้อง่าย หรือมีจุดเลือดออกตามตัวได้

อาการทางระบบประสาท
ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการชัก หรือมีอาการพูดเพ้อเจ้อไม่รู้เรื่อง หรือคล้ายคนโรคจิตจำญาติพี่น้องไม่ได้ เนื่องจากมีการอักเสบของสมอง หรือหลอดเลือดในสมอง

ปกติแพทย์จะแบ่งความรุนแรงของโรคเอสแอลอี ออกเป็นระดับความรุนแรงน้อยระดับปานกลาง และมาก ตามระบบของอวัยวะที่เกิดมีอาการ และตามชนิดของอาการที่เกิดขึ้นกับอวัยวะนั้น ๆ เช่น อาการทางผิวหนังมีผื่น หรืออาการทางข้อ มีข้ออักเสบ จัดเป็นความรุนแรงน้อยถึงระดับปานกลาง ยกเว้นอาการบางชนิด เช่น เส้นเลือดอักเสบของผิวหนัง ส่วนอาการที่ระบบไต ระบบเลือดและสมอง จัดเป็นอาการขั้นรุนแรง

อาการ ของโรคเหล่านี้ มักจะแสดงความรุนแรงมาก หรือน้อยภายในระยะเวลา 1-2 ปีแรกจากที่เริ่มมีอาการ หลังจากนั้นมักจะเบาลงเรื่อย ๆ แต่อาจมีอาการกำเริบรุนแรงได้เป็นครั้งคราว

วิธีการรักษาโรค
ผู้ป่วยโรคเอสแอลอีควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรค และอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด ถ้าผู้ป่วยมีอาการไม่รุนแรง การใช้ยาแก้ปวด เช่น พาราเซตามอล หรือแอสไพริน หรือยาลดการอักเสบก็ควบคุมอาการได้ สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง อาจต้องใช้ยาประเภทสเตียรอยด์ (ยาเพร็ดนิโซโลน) หรือยากดภูมิคุ้มกันในขนาดต่าง ๆ ตามความเหมาะสม ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้วินิจฉัยทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นกับความรุนแรงและระบบอวัยวะที่มีการอักเสบ ยาเหล่านี้เป็นยาอันตราย อาจทำให้ผมร่วงหรือหัวล้านได้ เมื่อหยุดยาผมจะงอกขึ้นมาใหม่

แต่การใช้ยาเป็นเพียงการระงับอาการชั่วคราว ผู้ป่วยอาจต้องกินยาตลอดชีวิต ผมเคยเจอคนไข้รายหนึ่งก่อนที่จะมารักษากับผม เขากินยาเป็นเวลานานถึง 28 ปี ส่วนอีกรายกินยามา 22 ปีแล้ว แต่พอมารักษาด้วยสมุนไพรก็หายในระยะเวลา 6 เดือน แพทย์บางท่านอาจใช้ยาคีโมในการรักษาเอสแอลอี ซึ่งก็เป็นการรักษาแบบประคับประคอง แต่อาจไม่หายขาด คนไข้ส่วนใหญ่แทบทุกรายที่มาหาผม ล้วนผ่านการรักษาด้วยแพทย์แผนปัจจุบันมาก่อน และมีอาการที่เห็นเด่นชัด ตั้งแต่ผมร่วง ใบหน้ามีรอยช้ำ เป็นรอยเหมือนผีเสื้อ ประจำเดือนขาด มีรอยช้ำจ้ำ ๆ บริเวณแขนขา ซึ่งคนเป็นโรคเอสแอสอีจะเกิดรอยช้ำได้ง่ายที่สุด

รักษาเอสแอลอีแบบแพทย์ทางเลือก

ผมอยากให้คนไข้หาข้อมูลเพิ่มเติมด้วยว่า แพทย์แผนอื่นรักษาโรคเอสแอลอีได้หรือไม่ สำหรับคนไข้ที่มาหาผม แทบจะไม่ต้องซักประวัติเพิ่มเติม บางคนขอรักษา 2 ทาง ผมก็จะแนะนำว่า ไปหาหมอแผนปัจจุบันได้ แต่ให้เก็บยาไว้ก่อน จากนั้น จึงกินยาสมุนไพรของผมซึ่งมีตัวหลักคือ เห็ดหลินจือ กับยาปรับธาตุที่ปรับสภาพฮอร์โมนผู้หญิงให้ปกติ หรือ ถ้าเป็นผู้ชาย ก็จะเป็นยาบำรุงร่างกาย

3 ปัจจัยเสี่ยงพึงระวัง เพื่อเลี่ยงอาการกำเริบ

นอกจากนี้คนไข้ต้องระวังในการรับประทานอาหาร เช่น อาหารต้องห้ามประเภทข้าวเหนียว ที่มีกลูเตน (โปรตีนที่สกัดจากแป้งสาลี ใช้ทำหมี่กึง ขนมปัง หรือส่วนผสมในพิซซ่า) ซึ่งจะไปเร่งให้อาการกำเริบ

และอีกประการที่คนไข้ต้องระวัง คือ แสงแดด หรือ แม้จะเป็นแสงไฟก็ตาม เพราะจะทำให้เกิดอาการผื่นแดง คัน ตามบริเวณมือ และหน้า ได้ จึงควรใส่เสื้อแขนยาวที่ปกปิดแขน ขา และลำตัวได้มิดชิด ใส่หมวกปีกกว้าง ทายาป้องกันแสงแดด และสวมเสื้อสีอ่อนที่ไม่ดูดซับความร้อน

อีกประการที่อาจคิดไม่ถึง คือ ความร้อนจากการปรุงอาหารที่มีรังสีอินฟาเรดถูกปล่อยออกมา ถ้าได้รับความร้อนมาก ๆ ก็เป็นการกระตุ้นให้โรคเอสแอลอีกำเริบได้เช่นกัน

การปฏิบัติตัวของผู้ป่วยอย่างถูกต้อง เป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้การรักษามีประสิทธิภาพ และต้องไม่ปฏิบัติตัวที่จะเป็นการกระตุ้นให้โรคกำเริบขึ้นมาใหม่ เช่น การโดนแสงแดด ตรากตรำทำงานหนัก และอดนอน ถึงแม้ว่าโรคจะสงบลงแล้วเป็นเวลาหลายปี ก็อาจยังมีโอกาสกำเริบใหม่อีกได้ ดัง นั้นจึงต้องเตรียมความพร้อมของร่างกายและจิตใจอยู่เสมอ ด้วยการออกกำลังกายเป็นประจำ รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ รักษาสุขอนามัยให้ดี ทำจิตใจให้สดชื่น ไม่เครียด พักผ่อนให้เพียงพอ ก็จะเป็นเกราะป้องกันโรคร้ายสู่ตัวเรา

ที่มา : health.kapook.com

วันอังคารที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2555



*** เวียนหัว จากโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน***

คนไข้ มีอาการเวียนศีรษะ มักถูกเหมาเอาว่าเป็นโรคน้ำในหูชั้นในไม่เท่ากัน ถึงกับมีคนไข้เข้าใจผิดคิดว่า เกิดจากน้ำเข้าไปในหูขณะอาบน้ำ ทำให้เกิดอาการขึ้นมาจริง ๆ แล้ว ตำแหน่งที่เกิดโรคคือ หูชั้นใน ที่อยู่ลึกเข้าไปหลังแก้วหู ไม่เกี่ยวกับน้ำเข้าหูจากภายนอก

ในหูชั้นใน ประกอบด้วยระบบการทรงตัวและระบบการได้ยินที่อยู่ติดกัน ในระบบนี้มีน้ำอยู่ภายใน แต่ถ้ามีความผิดปกติใด ๆ ก็ตามที่ทำให้ ปริมาณน้ำเพิ่มมากผิดปกติ ก็จะทำให้การไหลเวียนไม่ สะดวก ขัดขวางการทำงานของกระแสประสาททั้ง การได้ยินและการทรงตัว ก็จะทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะทรงตัวไม่ดี สูญเสียการได้ยิน และตึงๆ หน่วงๆ ในหูข้างนั้น

โรคน้ำในหูชั้นในไม่เท่ากัน หรือ โรคเมเนียร์ (Meniere's disease) พบค่อนข้างบ่อย เป็นโรคที่พบอันดับสองของสาเหตุอาการเวียนศีรษะ มักเป็นหูข้างใดข้างหนึ่งก่อน และมีประมาณ 15-20% ที่เป็นหูทั้งสองข้าง

สาเหตุของโรค
- ส่วนใหญ่ไม่ทราบสาเหตุแน่ชั
- กลุ่มที่มีปัจจัยที่อาจจะเป็นสาเหตุ เช่น
1. กรรมพันธุ์ มีโครงสร้างหูชั้นในผิดปกติ แต่กำเนิด
2. โรคภูมิแพ้
3. การติดเชื้อไวรัส, หูชั้นกลางอักเสบ, หูน้ำหนวก, ซิฟิลิส
4. ประวัติเคยประสบอุบัติเหตุที่ศีรษะ
5. โรคทางกาย เช่น เบาหวาน, ไทรอยด์, ไขมันในเลือดสูง

อาการของโรค
1. อาการเวียนศีรษะ อาการเกิดขึ้น ทันทีทันใด อยู่เฉยๆ ก็เป็นขึ้นมาและคงอยู่นาน เกินกว่า 20 นาที (บ่อยครั้งที่เป็นนานหลายชั่วโมง) และอาจรุนแรง แต่ไม่ทำให้หมดสติ หรือเป็นอัมพาต นอกจากนี้อาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น เหงื่อออก, คลื่นไส้, อาเจียน
2. การได้ยินลดลง ขณะมีอาการเวียน ศีรษะ ซึ่งระยะแรกอาจเป็นๆ หายๆ การได้ยินมักจะดีขึ้นเมื่ออาการเวียนศีรษะหายไป แต่ถ้าเป็นซ้ำ ๆ กันหลาย ๆ ครั้ง การได้ยินมักจะเสื่อมลงเรื่อย ๆ และไม่กลับคืนมา จนหูตึงได้
3. หูอื้อ เสียงดังในหู ซึ่งเกิดขึ้นในหูข้าง ที่ผิดปกติ อาจเป็นตลอดเวลา หรือเฉพาะเวลาเวียนศีรษะก็ได้
4. อาการหนักๆ หน่วงๆ ในหู คล้าย มีแรงดันในหู บางคนอาจบอกว่าปวดหน่วง ๆ ความถี่ของอาการแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนเป็นปี ละครั้ง บางคนเป็นหลาย ๆ เดือนครั้ง ไม่แน่นอน

การวินิจฉัย
การซักประวัติอย่างละเอียด และการตรวจร่างกายจะช่วยในการวินิจฉัย ถ้าคนไข้มาด้วยอาการครบ 3-4 อย่าง ดังกล่าวก็มักให้การวินิจฉัย ซึ่งพบว่า 50% เท่านั้น ที่มีอาการเด่นชัด ในกรณีที่อาการไม่ชัดเจน ก็จำเป็นต้องอาศัยการตรวจพิเศษเพิ่มเติม เพื่อช่วยในการวินิจฉัย ดังนี้
1. การตรวจการได้ยิน (Audiogram)
2. การตรวจการทรงตัว (Electrony stagmography ; ENG)
- เพื่อดูว่าเป็นหูข้างใด ที่มีพยาธิสภาพ
- ความรุนแรงมากน้อยแค่ไหน
- แยกโรคจากเวียนศีรษะที่เกิดจากระบบประสาทส่วนกลาง
- พบว่า 50% ของผู้ป่วยน้ำในหูชั้นใน ไม่เท่ากัน มีความผิดปกติของการตรวจนี้
3. การตรวจคลื่นไฟฟ้าในหูชั้นใน (Electro cochleography; ECOG) เป็นการวัดการได้ยินระดับหูชั้นใน พบว่า มีความไว 65-70% ในการ ตรวจพบความผิดปกติของคนไข้ แต่มีความเฉพาะเจาะจงสูง (Specificity) 95% (คือถ้าตรวจออกมาได้ผลบวก ค่อนข้างมั่นใจว่าเป็นโรคนี้)
4. การตรวจการได้ยินระดับก้านสมอง (Auditory Brainstem Response; ABR) เป็นการวัดการได้ยินระดับก้านสมอง เพื่อแยก โรคที่เกี่ยวกับเส้นประสาทการได้ยินหลังหูชั้นใน เข้าไปอีก เช่น การตรวจหาเนื้องอกที่ประสาทการ ได้ยิน
5. การทำ เอ็มอาร์ไอ หรือ ซีที สแกนสมอง และหูชั้นใน มักไม่จำเป็นในการวินิจฉัย แต่อาจใช้กรณีช่วยแยกโรคที่สงสัยว่าเกิดจากเนื้องอกที่เส้นประสาทการได้ยินหรือการทรงตัว

การรักษา
1. การปฏิบัติตัว
- ขณะมีอาการควรหลีกเลี่ยงการขับรถ, การยืนที่สูง
- พักผ่อนให้เพียงพอ การอดนอนมักกระตุ้นให้มีอาการ
- งดอาหารเค็ม
- พยายามลดความเครียด
- งดเหล้า, บุหรี่, ชา, กาแฟ
- หลีกเลี่ยงเสียงดังมาก ๆ
- การบริหารประสาทการทรงตัว จะทำให้สมองปรับตัวเร็วขึ้น

2. การให้ยา 80% จะหายได้ด้วยการให้ยา ได้แก่
- ยาขับปัสสาวะ
- ยาขยายหลอดเลือด
- ยาแก้อาการเวียนศีรษะ
- ยาแก้อาการคลื่นไส้ อาเจียน
- ยากล่อมประสาท หรือยานอนหลับ

3. การฉีดยา Gentamicin เข้าหูชั้น กลาง เพื่อให้ซึมเข้าหูชั้นใน เพื่อควบคุมอาการ เวียนศีรษะ ใช้ในกรณีที่กินยาไม่ได้ และยังเวียน ศีรษะอยู่

4. การผ่าตัด ใช้ในกรณีคนไข้มีอาการมาก และรักษาวิธีการใช้ยาข้างต้นไม่ได้ผล

ที่มา : โรงพยาบาลพญาไท