วันพุธที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ข้อเท้าเทียม

ในปัจจจุบันนี้คนไทยไม่มากก็น้อยคงจะรู้จักหรืออย่างน้อยก็เคยได้ยินเกี่ยว กับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าและข้อสะโพกกันมาบ้างแล้ว ซึ่งสาเหตุสำคัญที่ทำให้ได้รับการผ่าตัดแก้ไขเปลี่ยนผิวข้อเข่าหรือข้อสะโพก คือ การเสื่อมของผิวกระดูกบริเวณดังกล่าวอันเป็นผลเนื่องมาจากอายุที่เพิ่มขึ้น จนทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว นอกเหนือไปจากข้อเข่าและข้อสะโพกแล้วยังมีข้อต่อที่สำคัญอีกหนึ่งข้อที่อาจ
 เกิดปัญหาได้เช่นเดียวกัน คือ ข้อเท้า ซึ่งอาจเป็นบริเวณที่คนส่วนใหญ่มักมองข้ามและไม่ค่อยให้ความสำคัญในการดูแล รักษาเท่าที่ควร
ข้อเท้า เป็นข้อต่อที่รองรับการใช้งานอย่างหนักแต่คนส่วนใหญ่มักมองข้ามและไม่ให้ ความสำคัญในการดูแลเอาใจใส่ให้เหมาะสมในการใช้งาน จากผลการศึกษาพบว่าผู้ชายน้ำหนัก 80 กิโลกรัม เดินเฉลี่ย 8,000 ก้าวต่อวัน ข้อเท้าจะรับน้ำหนักรวมเฉลี่ยมากถึง 1,000 ตันต่อวัน
ข้อเท้าเทียม เป็นอีกหนึ่งทางเลือกของผู้ป่วยที่ประสบปัญหาเกี่ยวกับข้อเท้าเสื่อมซึ่ง เป็นผลมาจากปัจจัยต่างๆที่ได้กล่าวมา ข้อเท้าเทียมนั้นถูกพัฒนาขึ้นเป็นเวลา 30 ปีมาแล้ว แต่เนื่องมาจากคุณภาพและรูปแบบของข้อเท้าเทียมในสมัยแรกๆนั้นยังไม่เป็นที่ ยอมรับ จนทำให้การผ่าตัดในช่วงแรกๆล้มเหลวทั้งหมด หลังจากนั้นในช่วงปลายทศวรรษ 1980 ได้มีการพัฒนาข้อเท้าเทียมขึ้นมาใหม่อีกครั้ง โดยในครั้งนี้ได้มีการเปลี่ยนวัสดุและรูปแบบของข้อเท้าเทียมให้มีลักษณะใกล้ เคียงกับข้อเท้าของมนุษย์มากยิ่งขึ้น รวมทั้งได้มีการออกแบบให้เกิดการเชื่อมตัวกันระหว่างกระดูกของผู้ป่วยกับข้อ เท้าเทียม โดยไม่ต้องใช้ปูนเชื่อมกระดูก ( Bone cement ) ดังเช่นในอดีต ซึ่งเทคโนโลยีดังกล่าวเป็เทคโนโลยีเดียวที่ใช้กับข้อเข่าเทียมและข้อสะโพก เทียมในปัจจุบัน ตั้งแต่นั้นมาข้อเท้าเทียมก็ได้รับการยอมรับมากขึ้นและผลที่ตามมาหลังการผ่า ตัดก็ดีขึ้นเป็นลำดับ โดยผู้ป่วยสามารถกลับไปทำกิจกรรมหลายอย่างได้ตามปกติ ไม่ว่าจะเป็นการเดิน ถีบจักรยาน ว่ายน้ำหรือแม้กระทั่งการวิ่งเบาๆ
โดยทั่วไปการรักษาอาการปวดข้อเท้าเรื้อรังอันเป็นผลมาจากการเสื่อมของ ผิวกระดูกข้อเท้านั้น สามารถทำได้สองวิธี คือ การเข้ารับการผ่าตัดเชื่อมกระดูกข้อเท้า ( Arthodesis หรือ Ankle fusion ) และการผ่าตัดเพื่อใส่ข้อเท้าเทียม ซึ่งการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเท้าเทียมถือว่าเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดทางเลือก หนึ่ง โดยในประเทศไทยนั้นศัลยแพทย์ออโธปิดิกส์ ( ศัลยแพทย์เฉพาะทางด้านกระดูก) สามารถให้คำปรึกษาและแนะนำผู้ป่วยเพื่อให้สอดคล้องกับอาการและสภาพร่างกาย ของผู้ป่วยได้เป็นอย่างดี
การรักษาวิธีแรก คือ การผ่าตัดเพื่อเชื่อมกระดูกข้อเท้า เป็นการรักษาที่นิยมกันมากในการแก้ปัญหาอาการปวดข้อเท้าตั้งแต่อดีต เนื่องด้วยค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่าและเป็นทางเลือกเดียวในการรักษามานานนับสิบ ปี ผูัป่วยจะหายจากอาการปวดข้อเท้าหลังจากการรักษาก็จริง แต่ผลที่ตามมาคือ ผู้ป่วยไม่สามารถขยับข้อเท้าได้ดังเดิม การเคลื่อนไหวลดลงเนื่องจากไม่สามารถขยับ งอ หรือบิดข้อเท้าได้อีกต่อไป นอกเหนือไปจากนั้นงานวิจัยยังแสดงถึงปัญหาที่ตามมาหลังการผ่าตัดเชื่อม กระดูกข้อเท้า โดยจะทำให้เกิดการเสื่อมตัวลงอย่างรวดเร็วของข้อกระดูกถัดๆไปจากกระดูกข้อ เท้าในระยะเวลา 10 ปี เนื่องจากการพยายามปรับตัวของกระดูกข้อต่างๆให้เข้ากับกระดูกข้อเท้าที่ได้ รับการผ่าตัดเชื่อมกันจนทำให้สูญเสียความยืดหยุ่นและความสามารถในการเคลื่อน ที่ ทั้งนี้ข้อต่อต่างๆที่อยู่ถัดจากข้อเท้าที่เชื่อแล้วยังต้องรับภาระในการทำ หน้าที่ทดแทนข้อเท้ามากยิ่งขึ้น ทำให้เกิดปัญหาการเสื่อมของข้อต่างๆตามมาในที่สุด
การรักษาวิธีถัดมา ที่เริ่มเป็นที่นิยมและเข้ามาทดแทนการรักษาวิธีแรกก็คือ การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเท้าเทียมนั่นเอง โดยเป็นทางเลือกที่เหนือกว่าทั้งในด้านใช้งานที่ทำให้เกิดการเคลื่อน ไหวอย่างอิสระมากยิ่งขึ้น และผลที่ตามมาหลังการรักษาโดยไม่ส่งผลให้เกิดการเสื่อมของกระดูกข้อถัดๆไป อีกทั้งหากเกิดการเสื่อมของข้อเท้าเทียมที่ผ่าตัดไปหลังจากมีการใช้งานหรือ มีปัญหาใดๆตามมา ศัลยแพทย์กระดูกยังสามารถเปลี่ยนกลับไปรักษาด้วยการผ่าตัดเชื่อมกระดูกข้อ เท้าได้ในภายหลัง
อย่างไรก็ดีผู้ป่วยบางคนอาจไม่สามารถทำการรักษาโดยเปลี่ยนกระดูกข้อเท้าได้ เนื่องจากผู้ป่วยอาจมีโรคประจำตัวหรือสภาพของร่างกายบางอย่างที่ไม่เหมาะสม เช่น ผู้ป่วยที่มีปัญหาโรคกระดูกพรุน โรคเบาหวาน หรือมีภาวะเลือดไปหล่อเลี้ยงเท้าหรือขาไม่เพียงพอ เพราะสภาวะเหล่านี้อาจรบกวนผลการรักษาและมีผลต่ออายุการใช้งานของข้อเท้า เทียม ทั้งนี้สภาวะแวดล้อมต่างๆขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของศัลยแพทย์ที่ทำการตรวจ รักษา
ปัจจุบันนี้ศัลยแพทย์กระดูกของประเทศไทยเริ่มให้ความสนใจกับกระดูกเท้าและ ข้อเท้ามากยิ่งขึ้น จนได้เกิด อนุสาขาออร์โธปิดิกส์เท้าและข้อเท้า ขึ้นในราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย เพื่อส่งเสริมและผลิตบุคลากรทางการแพทย์ออร์โธปิดิกส์ที่มีความรู้ความ สามารถเฉพาะทางด้านกระดูกเท้าและข้อเท้า เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ประชาชนชาวไทย
หากท่านมีสงสัยหรืออาการเกี่ยวข้องกับกระดูกเท้าและข้อเท้า ท่านสามารถปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านเท้าและข้อเท้าได้ ในโรงพยาบาลดังต่อไปนี้ โรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลมหาราชเชียงใหม่ โรงพยาบาลกรุงเทพ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ โรงพยาบาลพระราม 9 และโรงพยาบาลวิชัยยุทธ โดยจำนวนแพทย์เฉพาะทางด้านกระดูกเท้าและข้อเท้านั้นจะเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว
ภาวะหัวแม่เท้าเอียง (Hallux Valgus หรือ Bunion) เป็น ภาวะความผิด รูปของนิ้วหัวแม่เท้าที่ส่วนปลายเอียงออกด้านนอกเข้าหานิ้วชี้ และโคนนิ้วหัวแม่เท้าเอียงเข้าด้านในแยกออกจากนิ้วอื่นทำให้ปลายเท้า แบนกว้างขึ้น เมื่อเป็นมากขึ้นปลายนิ้วหัวแม่เท้าจะซ้อนใต้นิ้วเท้า เมื่อนิ้วเท้าเอียงไปทำให้แรงดึงในเส้นเอ็นต่างๆ ของนิ้วเท้า ผิดแนวไป ก็จะเป็นตัวเสริมทำให้ผิ
ดรูปเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ และ มีการอักเสบของข้อโคนนิ้วหัวแม่เท้า

สาเหตุ

1. กรรมพันธุ์ หรือ ความผิดปกติตั้งแต่เกิด เช่น เท้าแบน นิ้วหัวแม่เท้ายาวมาก นิ้วหัวแม่เท้าเกออกเอง
2. การอักเสบของข้อในผู้ที่เป็นโรคข้ออักเสบเรื้อรัง (rheumatoid arthritis) เกิดการอักเสบทำให้กล้ามเนื้อและเส้นเอ็นผิดปกติ ความผิดรูปจะค่อยเป็นค่อยไปพร้อมกับอาการปวดที่โคนนิ้วหัวแม่เท้า
3. มักเป็นในผู้หญิงวัยกลางคนขึ้นไป มีประวัติใส่รองเท้าส้นสูง, ปลายรองเท้าแหลมบีบปลายเท้า

แนวทางการรักษา

1. การรักษาโดยวิธีไม่ผ่าตัด ในรายที่มีอาการไม่มาก สามารถดึงหรือดันแก้ไขได้ไม่มีข้อเสื่อม -ใส่รองเท้าขนาดพอดี ไม่คับ ปลายรองเท้ากว้าง (wide toe box) ใส่แล้วพอขยับนิ้วเท้าได้บ้าง ไม่บีบรัด นิ้วเท้า พื้นรองเท้านุ่มหรือตัดรองเท้าพิเศษ (หลีกเลี่ยงร้องเท้าปลายแหลมและส้นรองเท้าสูงมากกว่า 2 นิ้ว)
- การนวด การยืด การแช่น้ำอุ่น หรือ ประคบด้วยความเย็น อาจช่วยให้อาการปวดลง-การใช้กายอุปกรณ์ เช่น เฝือกอ่อน หรือ พันผ้ารัดนิ้วเท้าหรืออุปกรณ์ใส่ระหว่างนิ้ว (Bunion Splint, toe spacer)
- กินยาแก้ปวดลดอาการอักเสบที่ไม่ใช่สเตอรอยด์ ยาคลายกล้ามเนื้อ- กายภาพบำบัด
2. การรักษาโดยวิธีผ่าตัด ข้อบ่งชี้ มีอาการปวดร่วมกับข้อผิดรูปมากขึ้น มีลักษณะของข้อเสื่อมเกิดขึ้น วิธีผ่าตัด เช่น ตัดก้อนที่นูนออก,ตัดกระดูกเพื่อเปลี่ยนแนวให้ตรงขึ้น ,การเชื่อมข้อ เป็นต้น ขึ้นอยู่กับลักษณะความผิดปกติของนิ้วเท้าว่ามากน้อยขนาดไหนและเกิดจากสาเหตุ อะไร หลังผ่าตัดผู้ป่วยสามารถเดินได้ในสัปดาห์แรก โดยอาจใช้ไม้เท้าช่วยพยุง