วันอาทิตย์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

***มาทำความรู้จักกับน้ำมันพืชกันเถอะ***

ความแตกต่างของน้ำมันแต่ละประเภท ควรเลือกซื้อเพื่อนำไปใช้ให้ได้ประโยชน์ และถูกต้องตามความต้องการ

+น้ำมันมะกอก (Olive Oil) เป็นน้ำมันที่อุดมไปด้วยกรดไขมันไม่อิ่มตัว วิตามินเอ เบตา-แคโรทีน และสารต้านอนุมูลอิสระที่ให้ผลดีต่อร่างกายหลายประการ เช่น ช่วยป้องกันการเกิดของหลอดเลือดแดงแข็งตัว ช่วยให้การหมุนเวียนของโลหืตดีขึ้น อีกทั้งยังป้องกันโรคความดันโลหิตสูง หัวใจล้มเหลว หัวใจวาย ไตวาย เส้นเลือดในสมองแตก นอกจากนี้ยังช่วยมห้ระบบการทำงานของส่วนต่างๆ ในร่างกายดีขึ้น ทั้งกระเพาะอาหาร ตับอ่อน ลำไส้ ตับ และถุงน้ำดี ส่วนวิตามินเอ และสารต้านอนุมูลอิสระที่มีอยู่ในน้ำมันมะกอกจะช่วยให้ผิวหนังมีความยืดหยุ่น ป้องกันโรคผิวหนัง และลดริ้วรอยเหี่ยวย่น สำหรับผู้สูงอายุที่มักจะมีปัญหาเกี่ยวกับกระดูก หากรับประทานน้ำมันมะกอกเป็นประจำจะช่วยเสริมสร้างกระดูก ป้องกันโรคกระดูกพรุน และช่วยให้ร่างกายดูดซึมแร่ธาตุ และแคงเซียมได้ดียิ่งขึ้น อีกทั้งยังมีกรดไขมันที่ช่วยต่อต้านการก่อตัวของติ่งเนื้อในอวัยวะต่างๆ ที่เรียกว่ามะเร็งได้อีกด้วย แต่ในเรื่องของราคานั้น น้ำมันมะกอกจะมีราคาที่ค่อนข้างสูงกว่าน้ำมันทั่วๆ ไป ซึ่งจะขายกันอยู่ที่ 150-400 บาทต่อ 1,000 มิลลิลิตร

+น้ำมันงา (Sesame Oil) เป็นน้ำมันพืชที่หลายเป็นเทศนิยมนำมาใช้ในการปรุงอาหาร โดยเฉพาะชาวจีน ญี่ปุ่น และเกาหลี จะใช้น้ำมันงาเป็นส่วนผสมของอาหาร น้ำมันงาบริสุทธิ์จะมีรสฝาดร้อนแต่ไม่มีกลิ่นเหม็นหืน เนื่องจากมีสาร "เซซามอล" (Sesamol) ซึ่งเป็นสารกันหืนอยู่ในตัวมันเอง ในทางการแพทย์จึงใช้สารชนิดนี้ไปเป็นส่วนประกอบของยาเพื่อลดความดันโลหิต ชะลอความแก่ และลดการแพร่กระจายของเซลมะเร็ง นอกจากสารเซซามอลแล้ว ยังมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูงเมื่อเทียบกับน้ำมันชนิดอื่นๆ ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้หลอดเลือดแข็งตัวอันเป็ยเหตุของโรคหัวใจขาดเลือดแล้ว ยังมีกรดไขมันไลโนเลอิกที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต ช่วยควบคุม และลดคอเลสเตอรอลในเลือด ป้องกันการเป็นโรคหัวใจ โรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือดบาชนิด ทั้งยังให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวหนัง ส่วนเรื่องราคานั้นน้ำมันงาจะขายอยู่ที่ราคาประมาณ 50-250 บาทต่อ 1,000 มิลลิกรัม

+น้ำมันเมล็ดดอกทานตะวัน (Sunflower Oil) ในเมล็ดดอกทานตะวันนั้นอุดมไปด้วยน้ำมัน และวิตามินอี น้ำมันที่ได้จากเมล็ดทานตะวันจะมีกรดไลโนเลอิกสูงถึง 44-75 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งมีความจำเป็นต่อร่างกาย สามารถป้องกันการแข็งตัวของเลือดในหลอดเลือด ป้องกันโรคฆลอดเลือดหัวใจ ส่วนวิตามินอีจะทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ คอยดักจับ และทำลายของเสียที่จะมาทำลายเซลล์ต่างๆ ช่วยให้ผิวพรรณเต่งตึง ลดไขมันในเส้นเลือ ป้องกันการเกิดมะเร็ง บำรุงสายตา ป้องกันการเป็นหมัน การแท้ง และป้องกันเนื้อเยื่อปอดถูกทำลายจากอากาศ นอกจากนี้ยังมีกรดไขมัน CLA (Conjugated Acid) คือกรดไขมันที่ร่างกายไม่สามารถผลิตเองได้ มีประโยชน์ในการเร่งการเผาผลาญไขมันที่สะสมตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย โดยเพิ่มโฮโมนที่ช่วยกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ที่ข่วยในการเผาผลาญไขมันสะสมมาใข้เป็นพลังงานอย่างเต็มที่ พร้องทั้งลดปริมาณการเกิดไขมันสะสมที่จะเกิดใหม่ด้วย ราคาจะอยู่ที่ประมาณ 40-50 บาทต่อ 1,000 มิลลิกรัม

+น้ำมันรำข้าว (Ricec Bran Oil) มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี๋ยวสูงถึง 44 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณกรดไขมันทั้งหทด ซึ่งจะช่วยลดคอเลสเตอรอลที่ไม่ดี และเพิ่มคอเลสเตอรอลที่ดี และด้วยปริมาณกรดไขมันที่สมดุลนี้เอง องค์การอนามัยโลก สมาคมโดรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกา และองค์การอาหารและเกษตรแห่สหประชาชาติจึงแนะนำว่าเป็นน้ำมันที่เหมาะต่อการบริโภค นอกจากกรดไขมันแลวยังมีวิตามิน และสารอาหารที่สำคัญต่อร่างกายอีหลายชนิด ทั้งวิตามินอี โอรีซานอล โทโคไตรอีนอล ซึ่งเป๋นสารต้านอนุมูลอิสระ และช่วยลดคอเลสเตอรอลในร่างกายอีกด้วย น้ำมันรำข้าวนั้นสามารถหาซื้อได้ทั่วไป ราคาอยู่ที่ 30-40 บาทต่อขวด (1,000 มิลลิลิตร)

+น้ำมันดอกคำฝอย (Safflower Oil) ประกอบด้วยเบตา-แคโทรีน กรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัวหลายชนิดในปริมาณสูง (ประมาณร้อยละ 74 ) เช่น กรดไลโนเลอิก กรดไลโนลิก (Linolic Acid) และกรดโอเลอิก เป็นต้น จึงทำให้ปริมาณคอเลสเตอรอลในเลือดต่ำลง จากผลการวิจัยพบว่า น้ำมันดอกคำฝอยช่วยให้ปริมาณคอเลสเตอรอลในเลือดลดลงได้จริง ทั้งนี้เป็นเพราะกรดไลโนเลอิกทำปฏิกิริยากับคอเลสเตอรอลในเลือด กลายเป็นคอเลสเตอรอลไลโนเลเอท (Linoleate Choloesterol) และยังทำให้ฤทธิ์ของเอนไซม์ที่ใช้ในการสังเคราะห์กราดไขมันลดลงอีกด้วย และบางผลการวิจัยยังพบว่าน้ำมันดอกคำฝอยช่วยลดการอุดตันของไขมันในหลอดเลือด และป้องกันการอุดตันในเลือดได้ นำมันดอกคำฝอยหาซื้อได้ตามซูเปอร์มาเก็ต ราคาขวดละ 250-300 บาท ต่อ 1,000 มิลลิลิตร

+น้ำมันถั่วเหลือง (Soybean Oil) น้ำมันถั่วเหลืองนับว่ามีความสำคัญ เพราะเป็นน้ำมันที่คุณภาพดี มีกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัวสูง ซึ่งช่วยลดคอเสเตอรอลไม่ดีได้ ยิ่งกว่านั้นในเมล็ดถั่วเหลืองยังมีโปรตีนสูง นิยมใช้ในการปรุงอาหาร ทำน้ำมันสกัด และเนยเทียม หาซื้อได้ทั่วไปราคาถูก ขวดละ 35-40 บาท

+น้ำมันปาล์ม (Palm Oil) สกัดจากเปลือกเมล็ดปาล์ม จากนั้นนำมาผ่านกระบวนการการแยกกรดไขมันอิ่มตัวออกบางส่วน น้ำมันที่ได้จึงมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวที่มีประโยชน์สูง กรดไขมันอิ่มตัว 48 เปอร์เซ็นต์ กรดไขมันไม่อิ่มตัว 38 เปอร์เซ็นต์ น้ำมันชนิดนี้เหมาะกับการทอดอาหารสำเร็จรูป ปรุงอาหาร และผลิตมาการีน ราคาขวดละ 25-30 บาท

+น้ำมันถั่วลิสง (Peanut Oil) มีกลิ่นถั่ว Nutty Flavour) กรดโอเลอิก และไลโนเลอิกสูงถึงร้อยละ 50-55 ของกรดไขมันทั้งหมด ในบ้านเราหาซื้อยาก เพราะไม่เป็นที่นิยมนำมาใช้ในการประกอบอาหารเนื่องจากมีกลิ่น แต่มักใช้ในการปรุงอาหารจีนอาหารอินเดีย เรื่องราคานั้นค่อนข้างสูง เพราะต้องนำเข้าจากประเทศผู้ผลิตโดยตรง

+น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น น้ำมันมะพร้าวสกัดเย็นโดยไม่ผ่านความร้อน (cold press coconut oil) ผลิตจากเนื้อมะพร้าวสดเป็นน้ำมันมะพร้าวที่บริสุทธิ์ที่สุด สีใสเหมือนน้ำมีวิตามินอีและไม่ผ่านขบวนการเติมออกซิเจน (oxidation) และที่สำคัญกรดคลอริกในน้ำมันมะพร้าวมีกรดคลอริกอยู่ประมาณ 54.61% กรดนี้มีส่วนที่ทำให้น้ำมันมะพร้าวดีเด่นกว่าน้ำมันพืชชนิดอื่นๆ เพราะมันมีความสามารถพิเศษคือ สร้างภูมิคุ้มกัน เมื่อเราบริโภคน้ำมันมะพร้าวเข้าไปในร่างกายกรดคลอริกในน้ำมันมะพร้าวจะเปลี่ยนเป็นโมโนกลีเซอไรด์ที่มีชื่อว่า โมโนลอรีน ซึ่งเป็นสารตัวเดียวกับที่อยู่ในน้ำนมมารดาที่ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้กับทารกในระยะ 6 เดือนแรกที่ร่างกายยังไม่สร้างระบบภูมิคุ้มกันทำให้เด็กระยะแรกเกิดไม่ค่อยเป็นอะไร และยังสามมารถฆ่าเชื้อโรค ในโมโนลอรีนเป็นสารปฏิชีวนะที่ใช้อยู่ในปัจจุบันที่สามารถฆ่าเชื้อที่ก่อให้เกิดหลอดเลือดแข็งตัว ช่วยต่อต้านการเกิดอนุมูลอิสระ ป้องกันการเหี่ยวย่นของผิวหนัง ป้องกันการเกิดกระและรอยคล้ำบนผิวหน้า ป้องกันไม่ให้ผิวแห้ง กระด้าง ป้องกันผมหงอก น้ำมันมะพร้าวสามรถช่วยลดปริมาณการสูญเสียโปรตีนของเส้นผม เพราะน้ำมันมะพร้าวสามารถยึดเกาะกับโปรตีนของเส้นผมจึงช่วยเสริมความแข็งแรง โดยการรักษาความชื้น และลดรอยแตกแยกในเส้นผมได้ดี การบริโภคน้ำมันมะพร้าวเป็นประจำจะช่วยแก้ สถานการณ์ร่างกายไม่ค่อยแข็งแรง อ่อนล้าของผู้สูงอายุ และสามารถลดโอกาสการเกิดโรคหัวใจ โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน ฯลฯ


การเลือกน้ำมันมาใช้ปรุงอาหารให้เหมาะสมมีหลักการง่ายๆ ถ้าเป็นน้ำมันมะกอกชนิดรสอ่อน (Mild) เหมาะที่จะใช้รับประทานสดๆ หรือใช้ทำสลัด ทอดไข่ ทำมายองเนส และอบอาหารต่างๆ ส่วนน้ำมันมะกอกรสกลางๆ 9Medium Fruity-Flavoured) จะช่วยเพิ่มรสชาติของสัดให้น่ากินยิ่งขึ้น ส่วนน้ำมันมะกอกรสเข้ม (Strong Fruity-Flavoured) เหมาะสำหรับทอด ผัด เคี่ยว ตุ๋น และน้ำมันมะกอกบริสุทธิ์ (Extra Virgin Olive Oil) เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการปรุงสลัด และทาขนมปัง

หากจะใช้น้ำมันเป็นส่วนผสมของน้ำสลัดต้องเลือกน้ำมันที่ไม่แข็งตัวในอุณหภูมิต่ำ (ประมาณ5-10 องศาเซลเซียส) โดยเลือกน้ำมันพืชที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง เช่นน้ำมันมะกอก น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด หากต้องการทอดอาหารโดยใช้น้ำมันน้อยๆ ให้ใช้น้ำมันพืชชนิดใดก็ได้ แต่ถ้าต้องการทอดอาหารที่ต้องใช้น้ำมันปริมาณมากๆ ใช้ความร้อนสูง (Deep Frying) เช่น การทอดไก่ กล้วยแขก โดนัท ไม่ควรใช้น้ำมันพืชที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูงนัก แต่ควรใช้น้ำมันปาล์ม เพราะให้ความร้อนเร็วกว่าน้ำมันชนิดอื่นๆ และที่สำคัญในการทอดอาหารนั้น ไม่ควรนำน้ำมันที่ผ่านการทอดมาแล้วกลับมาใช้ใหม่ เพราะน้ำมันที่ผ่านการทอดแล้วนั้นจะมีกรดไขมันอิสระเพิ่มขึ้น และมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูงเกินไป ทำให้มีควันมาก เหม็นหืน มีความหนืดมากขึ้น และทำให้เกิดอนุมูลอิสระที่ก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพในภายหลังได้

การเลือกน้ำมันเพื่อนำมาใช้ในการปรุงอาหารให้ถูกประเภทนั้น นอกจากจะทำให้รสชาติของอาหารอร่อยแล้ว แถมสุขภาพยังดีในเวลาเดียวกันอีกด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น